วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560

ไมโครมิเตอร์

ไมโครมิเตอร์ (Micromiter)





 ประวัติความเป็นมาของไมโครมิเตอร์ (อำพัน,2549)
        คำว่า Micrometer เป็นศัพท์แสลงเรียกว่า Mike ประวัติของไมโครมิเตอร์ตกทอดมาจากการศึกษาด้านดาราศาสตร์โดยสร้างไมโครมิเตอร์ขึ้นมาเพื่อวัดขนาดของดวงดาว ซึ่งได้พัฒนามาเป็นลำดับดังนี้
ปี ค..1638 วิลเลียม  แกสคอยน์  (William  Gascoigne) ชาวอังกฤษ อาศัยอยู่ในมณฑลยอร์กเชียร์ ได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่สามารถปรับระยะการวัดได้ เพื่อใช้วัดขนาดของดวงดาว ดังแสดงในภาพที่ 1

ภาพที่ 1 เครื่องมือสำหรับวัดขนาดดวงดาว
https://th.wikipedia.org/wiki/ไมโครมิเตอร์
        ปี ค..1772 เจมส์  วัตต์  (James Watt) ได้ประดิษฐ์ไม่โครมิเตอร์ขึ้นมา ประกอบด้วยหลัก ปัดนาฬิกา2วง วงแรกอ่าน่าได้ 1/100 in วงที่สองอ่านค่าได้ 1/256in ดังแสดงในภาพที่ 2


ภาพที่ 2 ไมโครมิเตอร์แบบนาฬิกา 2 วง
http://www.jjjtrain.com/vms/measure_mic_basic/measure_mic_basic_01.html

ปี ค..1800 เฮนรี มูดส์เล่ (Henly maudslay’s) หรือลอร์ดเซนเซลเลอร์ (Lord Chancellor) ได้ประดิษฐ์ไมโครมิเตอร์แบบตั้งโต๊ะ(Bench micrometer) ซึ่งเป็นเครื่องมือรุ่นแรกที่ใช้วัดได้ผลละเอียดดีมากโดยมีฐานตั้งยุบนขา 3 ขา แบ่งสเกลที่ฐานออกเป็น10 ส่วนใน ความยาว1 in อ่านค่าวัดละเอียดได้ที่จานส่วนหัว สามารถอ่านค่าได้ละเอียดถึง1/1000 in  ดังแสดงในภาพที่ 3

ภาพที่ 3 ไมโครมิเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
http://milleottocentocinque.blogspot.com/

ปี ค.1848 ยีน พาลเมอร์ (Jean Palmer) ชาวฝรั่งเศส ได้คิดค้นและจดทะเบียนลิขสิทธิ์ ไมโครมิเตอร์ระบบพาลเมอร์ (Palmer  Micrometer Syatems) เป็นครั้งแรกที่ประเทศฝรั่งเศส
ปี ค.. 1867 เจ.อาร์. บราวน์ (J.R.Brown) และลูเซียน ชาร์ป (Lucian sharpe ) ได้พบไมโครมิเตอร์ระบบพาลเมอร์ที่นำออกแสดงที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส จึงได้นำมาเป็นแบบอย่างของไมโครมิเตอร์ตัวแรกลำหรับวัดโลหะแผ่น ดังแสดงในภาพที่ 4

         ภาพที่ 4 ไมโครมิเตอร์ตัวแรกสำหรับวัดโลหะแผ่น
http://ecatalog.mitutoyo.com/Micrometers-C1066.aspx
        ปี ค..1877บริษัทบราวน์แอนด์ชาร์ป (Brown & Sharpe) ได้เริ่มผลิตไมโครมิเตอร์ออกจำหน่ายเป็นครั้งแรก และได้พัฒนาแกนวัด (Spindle) ได้ทันสมัยยิ่งขึ้นในปี ค..1885


หลักการสร้างไมโครมิเตอร์
        ไมโครมิเตอร์รูปแบบต่างๆ มีพื้นฐานโดยอาศัยหลักการหมุนเคลื่อนที่ตามเส้นรอบวงของเกลียว(ระยะLead) ไปตามแนวแกน จะเห็นว่าสลักเกลียวที่เจาะทะลุผ่านแผ่นเหล็กมีระยะทางเคลื่อนที่แต่ละรอบเป็นเท่าไหร่ โดยสามารถวัดอ่านได้จากบรรทัดเหล็ก ความถูกต้องแน่นอนกับความสามารถในการวักจะเปลี่ยนแปลงไปตามค่าวัดละเอียดของขีดสเกลบนบรรทัดเหล็กที่นำมาใช้ สามารถวักระยะทางการเคลื่อนที่ดะเอียด 0.50 mmแต่ถ้าสร้างสเกลที่บริเวณด้านข้างของหัวสกรูและสามารถปรับให้หมุนได้โดยรอบการแบ่งช่องของขีดสเกลโดยแบ่งย่อยระยะทางโดยรอบของหัวสกรูจะทำให้เห็นระยะทางที่แตกต่างในแต่ละช่องที่หมุนปรับ สามารถทราบระยะทางเคลื่อนที่แต่ล่ะช่องซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.01 mm และเมื่อหมุนหัวสกรูครบ1 รอบ จะทำให้เกิดอัตราส่วนระหว่างระยะทางตามเส้นรอบงวงต่อระยะทางตามแนวขวางของบรรทัดเหล็ก

ประเภทของไมโครมิเตอร์ (ปริญญ์,2550)
ไมโครมิเตอร์ออกเป็นประเภทหลักๆได้ 3 ประเภทคือ
1.      ไมโครมิเตอร์วัดนอก
2.      ไมโครมิเตอร์วัดใน
3.      ไมโครมิเตอร์วัดลึก
       
1.     ไมโครมิเตอร์วัดนอก
ไมโครมิเตอร์แบบใช้วัดขนาดภายนอกจะอาศัยหลักการทำงานของเกลียวที่จะเกิดค่าระยะพิตช์ เมื่อทำการหมุนเกลียวไป 1รอบ ก็จะได้ระยะพิตช์เท่ากับ 1 (1Pitch) ซึ่งระยะพิตช์ได้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับการเคลื่อนที่ของเกลียว1ช่อง กับสเกลหลักบรรทัดเหล็ก เช่น ถ้าแบ่งระยะบรรทัดเหล็กออกเป็น 20 ส่วนแล้วหมุนเกลียว 1 ช่อง ผ่านบรรทัดเหล็ก จะได้ระยะ 1/20 ของระยะพิตซ์ ซึ่งหลักการนี้ถูกนำไปสร้างเป็นไมโครมิเตอร์
ส่วนประกอบของไมโครมิเตอร์วัดนอก

ภาพที่ 5 ส่วนประกอบของไมโครมิเตอร์วัดนอก
http://www.jjjtrain.com/vms/measure_mic_basic/measure_mic
_basic_02.html
        ไมโครมิเตอร์วัดนอกจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลักๆ ดังนี้
        1.โครง (Frame)                                           4. สเกลปลอกหมุนวัด(Thimble)
        2.แกนรับหรือหน้าสัมผัสอ้างอิง (Anvil)                5.หัวหมุนกระทบเลื่อน(Ratchet cap)       
        3.แกนวัดหรือแกนกรู (Spindle)                        6. สเกลหลักหรือก้านสเกล (Barrel) 6.

        ส่วนประกอบสำคัญของไมโครมิเตอร์วัดนอก
      1.      หัวหมุนกระทบเลื่อน (Ratchet cap) มีไว้สำหรับหมุนผ่อนแรงขณะที่แกนวัดสัมผัสกับชิ้นงาน   
      2.      ปลอกหมุนวัด (thimble) มีลักษณะเป็นปลอกพิมพ์ลายบริเวณส่วนปลายเพื่อสะดวกต่อการใช้หมุนวัด เพื่อให้ปลายของแกนวัดเข้าใกล้ชิ้นงานมากที่สุด
      3.      สเกลหลักหรือก้านสเกล (Barrel)เปรียบเสมือนสเกลหลักหลักของเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ ก้านปลอก(Barrel or Sleeve) มีลักษณะเป็นปลอกรูปทรงกระบอกสวมติดกับโครงสามารถปรับให้ขยับไปมาได้ ใช้เป็นตัวยึดเกลียวและสร้างสเกลที่ก้านปลอก
      4.      แกนวัด(Spindle) เป็นชิ้นส่วนเดียวกับสลักเกลียวที่อยู่ด้านในผ่านการเจียระไนอย่างดีบริเวณส่วนปลายที่ใช้เป็นจุดสุดท้ายทำจากเหล็กคาร์ไบด์ (Carbide Tip ) เพื่อป้องกันการสึกหรอจากการสัมผัสชิ้นงาน
      5.      แกนรับ (Anvil) ทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้น ผ่านการเจียระไนและติดเหล็กคาร์ไบด์เช่นเดียวกับแกนวัด
      6.      โครง (Frame)มีหลายขนาดขึ้นยุกับขนาดความไตของไมโครมิเตอร์ที่จะใช้วัด

        การใช้ไมโครมิเตอร์
        วิธีที่ 1 เมื่อชิ้นงานและไมโครมิเตอร์มีขนาดเล็กสามารถจับขึ้นมาได้ให้จับชิ้นงานด้วยมือซ้ายและมือขวาจับไมโครมิเตอร์ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วหมุนปลอกหมุนวัด

ภาพที่ 6 การวัดชิ้นงานขนาดเล็กใช้มือจับได้
http://tonanasia.com/wordpress/techniques/technical-library
        วิธีที่ 2  เมื่อชิ้นงานอยู่กับที่ เช่น จับยึดอยู่กับหน้าจานของเครื่องกลึงมือซ้ายจับโครงและมือขวาหมุนปลอกหมุนวัด

ภาพที่ 7 การวัดชิ้นงานที่อยู่กับที่
http://tonanasia.com/wordpress/techniques/technical-library

          วิธีที่ 3 ยึดไมโครมิเตอร์ด้วยปากกาตั้งมือซ้ายจับชิ้นงาน มือขวาหมุนปลอกหมุนวัด วิธีนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในห้องประลองงานวัดละเอียดเพื่อให้ได้ค่าวัดที่ถูกต้องและป้องกันเครื่องมือวัดเสียหาย

ภาพที่ 8 การวัดชิ้นงานโดยยึดไมโครมิเตอร์ด้วยขาตั้ง
http://tonanasia.com/wordpress/techniques/technical-library


 วิธีการบำรุงรักษาไมโครมิเตอร์
1.      ทำความสะอาดผิวแกนรับและแกนวัดทุกครั้ง ก่อนและหลังการวัด
2.      เมื่อต้องการให้แกนวัดเลื่อนเข้าออกอย่างรวดเร็วให้เลื่อนกับฝ่ามือ (ดังภาพที่ 3.1) เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับไมโครมิเตอร์
3.      ใช้ปลอกหมุนกระทบเลื่อนขณะวัดชิ้นงานทุกครั้ง
4.      อย่างใช้ไมโครมิเตอร์วัดชิ้นงานผิวดิบหรือหยาบเกินไป
5.      อย่าปล่อยให้ไมโครมิเตอร์สกปรกขาดการหล่อลื่น ขาดการปรับแต่งและปล่อยให้หมุนวัดฝืดหรือหลวมเกินไป
6.      อย่าเก็บหรือวางไมโครมิเตอร์รวมกับเครื่องมืออื่น ๆ
7.      ควรวางไมโครมิเตอร์ในกล่องไม้ หรือวางบนผ้านุ่ม
8.      ควรตรวจสอบผิวสัมผัสของแกนรับและแกนวัดอยู่เสมอ
9.      อย่าวัดชิ้นงานที่กาลังเคลื่อนที่ และอย่าวัดชิ้นงานร้อน
เทคนิคในการใช้ไมโครมิเตอร์
        1. ขณะวัดชิ้นงานที่ผิวขนานกันจะต้องให้แนวแกนวัดและแกนรับตั้งฉากกับผิวของชิ้นงาน การสัมผัสชิ้นงานของแกนรับและแกนวัด
        2. ขณะวัดชิ้นงานจะต้องให้แนวแกนของไมโครมิเตอร์ อยู่ในแนวเดียวกับแนวแกนวัดมิฉะนั้นแล้วค่าวัดที่ได้จะมากกว่าขนาดจริงของชิ้นงาน
        3. งานกลมทรงกระบอกกลม ผิวงานกลมไม่สามารถบังคับผิวสัมผัสของแกนวัดและแกนรับให้ตั้งฉากกับผิวของชิ้นงานได้ ดังนั้นผู้วัดจะต้องปรับแนวแกนของไมโครมิเตอร์เพื่อให้ได้ค่าวัดที่ถูกต้อง

ภาพที่ 9 การวัดทรงกระบอกกลม
http://tonanasia.com/wordpress/techniques/technical-library

        4. ในการวัดชิ้นงานทุกครั้ง ควรใช้ปลอกหมุนกระทบ-เลื่อนวัดชิ้นงานแทนปลอกหมุนวัด เพราะการหมุนปลอกวัดอาจทาให้ผิวของชิ้นงานยุบทาให้ค่าวัดที่ได้ผิดไป
        5. การอ่านตัวเลขบนสเกลจะต้องถือไมโครมิเตอร์ให้อยู่ในแนวตั้งฉากกับแนวสายตาทางด้านหน้า  เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนในการอ่าน

ภาพที่ 10 การอ่านตัวเลขบนสเกล
http://tonanasia.com/wordpress/techniques/technical-library

          ขั้นตอนการวัดงานด้วยไมโครมิเตอร์ แบบวัดนอก 
1.      ทำการตรวจเช็คสภาพไมโครมิเตอร์และทำความสะอาดชิ้นงานก่อนทำการวัด
2.      หมุนคลายให้ปากวัดไมโครมิเตอร์มีขนาดกว้าง กว่าขนาดชิ้นงาน (distance Measure)
3.      ค่อยๆ หมุนสเกลเลื่อนให้แกนสกรู (Spin die)  เข้าใกล้ชิ้นงานเมื่อหน้าสัมผัสกระทบกับชิ้นงานแล้วค่อยๆ หมุนเบาๆ อย่าออกแรงมากเกินไป  จะทำให้ ขนาดที่วัดผิดพลาดและไมโครมิเตอร์เสียหายได้
4.      ในการวัด แกนวัดจะต้องตั้งฉากกับงาน (Cross Section) ดังแสดงในภาพที่ 13
5.      อ่านค่าที่วัดได้ในขณะที่ทำการวัดหรือสามารถใช้ปุ่มล็อคทำการล็อคสเกลก่อนแล้วจึงถอดไมโครมิเตอร์ออกมาอ่านค่าก็ได้

        ข้อระวังในการใช้ไมโครมิเตอร์วัดนอก
1.      ควรใช้ไมโครมิเตอร์วัดขนาดชิ้นงานที่มีผิวเรียบ
2.      ในขณะวัดต้องระมัดระวังเรื่องของการใช้แรงกดและการเลื่อนแกนสกรูบ่อยครั้งเพราะจะทำให้ไมโครมิเตอร์เสียหายได้
3.      ควรอ่านค่าที่วัดได้บนไมโครมิเตอร์วัดขณะที่มีชิ้นงานอยู่
4.      ห้ามนำไมโครมิเตอร์ไปวัดชิ้นงานในขณะ ที่มีการเคลื่อนที่หรือกำลังหมุน
5.      ไมโครมิเตอร์ทีการตรวจสอบความเที่ยงตรงก่อนกานนำไปใช้งาน  เละมีการส่งสอบเทียบเมื่อครบตามกำหนดเวลา
6.      การเก็บรักษาไมโครมิเตอร์ควรแยกไว้ต่างหาก มีกล่องบรรจุละวางบนพื้นผิวที่อ่อนนุ่มเช่น สักหลาด ผ้านุ่ม หรือฟองน้ำ
7.      ก่อนทำการเก็บไมโครมิเตอร์ควรมีการชโลมสารกันสนิมและสารหล่อลื่นก่อนเสมอ

2.     ไมโครมิเตอร์วัดใน
  ไมโครมิเตอร์วัดในเหมาะกับงานที่ต้องการวัดขนาดภายในของงานและต้องการค่าความละเอียดถูกต้องมากๆ เช่น 1/100  มม. อาทิ การนำไปใช้เพื่อวัดขนาดของรูในงานสวมพอดี หรือสวม ไมโครมิเตอร์ วัดในมีหลายแบบหลายลักษณะขึ้นกับบริษัทผู้ผลิตผู้ออกแบบและราคา สำหรับลักษณะ ทั่วไปและส่วนประกอบของไมโครมิเตอร์วัดใน ดังภาพข้างล่างนี้

ภาพที่ 11 ส่วนประกอบแบบไมโครมิเตอร์วัดใน
        ส่วนประกอบของไมโครมิเตอร์วัดใน
1.      ปากวัด
2.      ขีดมาตรา
3.      ปลอกหมุนวัด
4.      หัวหมุนกระทบเลื่อน
5.      ด้ามจับ

        ขั้นตอนการใช้ไมโครมิเตอร์วัดใน
1.  ควรทำการวัดขนาดความโตโดยประมานของชิ้นงานคร่าวๆ  ก่อนจากการใช้อุปกรณ์ วัดอื่นๆ เช่น การใช้บรรทัดเหล็ก หรือเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ เป็นต้น
2.  ในการวัดด้วยไมโครมิเตอร์ต้องวัดด้วยขนาดที่ใกล้เคียงกับขนาดที่ต้องการวัด โดยทำการหมุนขนาดของปากวัดให้มีขนาดเล็กกว่าความโตของชิ้นงานเล็กน้อย   เเล้วจึงนำปากวัดไมโครมิเตอร์ใส่ลงไป
3.  ค่อยๆหมุนปลอกวัดให้ปากวัดขยายเลื่อนออกไปสัมผัสผิวชิ้นงานพอดี
4.  อ่านค่าวัดได้
5.  ในการอ่านที่ปรับวัดได้จากไมโครมิเตอร์  ถ้าสามารถ อ่านได้ทันทีในขณะนั้นควรทำการอ่านทันที หรือถ้าไม่สามารถอ่านค่าที่วัดได้ในขณะนั้น  ควรใช่ปุ่มล็อคไมโครมิเตอร์ช่วยล็อค ก่อนถอดออกมาอ่านค่าตามหลักการอ่านไมโครมิเตอร์ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

 ข้อควรระวังในการใช้งาน
        หลักการปฏิบัติสำหรับการใช้งานไมโครมิเตอร์วัดใน  มีหลักการคล้ายการปฏิบัติกับไมโครมิเตอร์วัดนอกดังนี้
1. ควรนำไมโครมิเตอร์วัดในวัดงานที่มีผิวเรียบ
2. ควรทำการอ่านค่าที่วัดได้ในขณะที่ปากวัดสัมผัสชิ้นงาน
3. ระมัดระวังการสัมผัสของปากวัดกับชิ้นงานไม่ให้สัมผัสกันรุนแรงหรือแน่นเกินไปซึ่งจะทำให้ปากวัดเสียหายได้
4. ควรใช้ไมโครมิเตอร์วัดชิ้นงานที่มีขนาดและความละเอียดเหมาะสม
5. ในขณะวัดที่ต้องระมัดระวังเรื่องของการใช้แรงกดและการเลื่อนแกนสกรูบ่อยครั้งเพราะจะทำให้ไมโครมิเตอร์เสียหายได้
6. ควรอ่านค่าที่วัดได้บนไมโครมิเตอร์วัดขณะที่มีชิ้นงานอยู่
7. ห้ามนำไมโครมิเตอร์ไปวัดชิ้นงานในขณะที่มีการเคลื่อนที่หรือกำลังหมุน
8. ไมโครมิเตอร์ควรมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงก่อนการนำไปใช้งาน    และมีการส่งสอบเทียบเมื่ครบตามกำหนดเวลา
9. การเก็บรักษาไมโครมิเตอร์ควรแยกไว้ต่างห่าง มีกล่องบรรจุว่างบนพื้นผิวที่อ่อนนุ่มเช่น  สักหลาด  ผ้านุ่ม  หรือฟองน้ำ
10.  ก่อนทำการเก็บไมโครมิเตอร์ควรมีการชโลมสารกันสนิมและสารหล่อลื่นก่อนเสมอ

        3. ไมโครมิเตอร์วัดลึก ( Depth Micrometers) (ปริญญ์ ,2550)
        ไมโครมิเตอร์วักลึกใช้สำหรับวัดความลึกของชิ้นงานหรืองานที่เป็นร่องเป็นบ่างาน  มีการใช้งานในการวัดอยู่ทั้ง 2 ระบบการวัด  คือ  ระบบเมตริกและอังกฤษ  โดยในระบบเมตริกไมโครมิเตอร์วัดลึกสามารถใช้วัดความลึกได้ความละเอียดประมาน 0.01 มม ระบบอังกฤษความระเอียดประมาน 0.001 นิ้ว ส่วนความลึกที่สามารถวัดได้ขึ้นอยู่กันก้านวัดลึกที่นำมาประกอบกับเวอร์เนียร์วัด ประกอบด้วยส่วนประกอบโดยทั่วไปดังนี้

ภาพที่ 12 ส่วนประกอบไมโครมิเตอร์แบบวัดลึก

        ส่วนประกอบต่างๆ ของไมโครมิเตอร์วัดลึก มีดังนี้ (อำพัน เมธาวิน.2549)
1.      หัวหมุนกระทบเลื่อน (Ratchet Stop)           3.  หมวกเกลียว (Thimble Cap)
2.      ปลอกหมุนวัด (Thimble)                          4.  สเกลปลอกหมุนวัด (Thimble Scale)
5.  สเกลก้านปลอก (Barrel Scale)                    6.  ก้าปลอก(Barrel)                                            
7.  แผ่นประกบงาน (Reference Plane)             8.  แกนวัดลึก (Measuring Rod)

        ขั้นตอนการใช้ไมโครมิเตอร์วัดลึก
1.      ควรทำการวัดขนาดความลึกโดยประมาณของชิ้นงานคร่าวๆ ก่อนจากการใช้อุปกรณ์วัดอื่นๆเช่นการใช้บรรทัดเหล็ก  หรือเวอร์เนียร์เนียร์คาลิเปอร์
2.      ในการวัดเลือกก้านวัดที่มีความยาวใกล้เคียงกับขนาดที่ต้องการวัดก่อน    แล้วจึงนำปากวัดไมโครมิเตอร์วัดลึกลงไปในร่องที่ต้องการวัด
3.      วางไมโครมิเตอร์ให้สะพานยันส่วนของผิวสัมผัสงานสัมผัสพอดีกับบ่างาน
4.      ค่อยๆหมุนปลอกวัดให้สะพานยันส่วนของผิวสัมผัสผิวชิ้นงานพอดี
5.      อ่านค่าที่วัดได้โดยบวกรวมกับค่าความยาวของก้านวัดลึกที่เลือกใช้
6.      ในการอ่านค่าที่ปรับวัดได้จากไมโครมิเตอร์ ถ้าสามารถอ่านได้ทันที ในขณะ นั้นควรทำการอ่านทันที หรือถ้าไม่สามารถอ่านค่าได้ที่วัดได้ในขณะนั้นควรใช้ปุ่มล็อคไมโครมิเตอร์ช่วยล็อคก่อนถอดออกมาอ่านค่าตามหลักการอ่านค่าไมโครมิเตอร์ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

ข้อควรระวัง ในการใช้งาน
        หลักการปฏิบัติสำหรับการใช้ไมโครมิเตอร์วัดลึก   มีหลักการคล้ายการปฏิบัติกับไมโครมิเตอร์วัดใน การใช้งานไมโครมิเตอร์วัดลึกที่ถูกต้อง มีดังต่อไปนี้
              1. ควรนำไมโครมิเตอร์วัดลึกวักงานที่มีผิวเรียบ
              2. ควรทำการอ่านค่า ที่วัดได้ขณะที่ปากวัดสัมผัสชิ้นงาน
              3. ระมัดระวังการสัมผัสของสะพานยันกับชิ้นงานไม่ให้สัมผัสกันรุนแรงหรือแน่นเกินไป ซึ่งจะทำให้ผิวสัมผัสงานเสียหายได้
              4. ควรใช้ไมโครมิเตอร์วัดชิ้นงานที่มีขนาดและความละเอียดเหมาะสม
              5. ในขณะวัดต้องระมัดระวังเรื่องของการใช้แรงกดและการเลื่อนแกนสกรูบ่อยครั้ง เพราะ จะทำให้ไมโครมิเตอร์เสียหายได้
              6. ควรอ่านค่าที่วัดได้บนไมโครมิเตอร์วัดขณะที่มีชิ้นงานอยู่
              7. ควรตรวจสอบการยึดสกรูของก้านวัดลึกว่าแน่นอนพอดีหรือไม่
              8. ไมโครมิเตอร์ควรมีการตรวจสอบความเที่ยงตรงก่อนการนำไปใช้งาน และมีการขนส่ง สอบเที่ยงเมื่อครบตามกำหนดเวลา
              9. ในการวัดด้วยไมโครมิเตอร์วัดลึกที่มีการเปลี่ยนก้านให้ยาวมากกว่า 25 มม. ควรหาเกจแท่งรองรับการสัมผัสของผิวสัมผัสและสะพานยัน
             10.  การเก็บรักษาไมโครมิเตอร์ควรแยกไว้ต่างหาก มีกล่องบรรจุและวางบนพื้นผิวที่อ่อนนุ่ม  เช่น สักหลาด ผ้านุ่ม หรือฟองน้ำ
             11.  ก่อนทำการเก็บไมโครมิเตอร์ควรมีการชโลมสารกันสนิม และสารหล่อลื่นก่อนเสมอ

หลักการอ่านค่าไมโครมิเตอร์
                    1.   การอ่านไมโครมิเตอร์วัดละเอียด 1/100 มม ความละเอียด =  0.01 มม.
         การอ่านไมโครมิเตอร์วัดละเอียด 1/100 มม ความละเอียด =  0.01 มม. จะต้องใช้แกนวัด (Spindle) ซึ่งมีชุดเกลียวระยะพิทช์  0.5 มม. ถ้าหมุนแกนวัดไป 1 รอบ แกนวัดจะเคลื่อนที่ ไปเท่ากับ 0.5 มม.

ภาพที่ 13 การแบ่งสเกลที่ปลอกหมุนวัดออกเป็น 50 ช่อง
http://www.pattayatech.ac.th/files/150511088493655_15051112120331.pdf
          เมื่อหมุนเกลียวไป 1 รอบ = 1 ระยะพิตช์เกลียว  (0.50 มม.) จากภาพที่ 16 ถ้าปลอกหมุนวัดแบ่งช่องสเกลออกเป็น 50 ช่อง (50 ขีด) การเคลื่อนที่ในแต่ละช่วง จะหาค่าความละเอียดได้ ถ้าหมุนเกลียวไป 1 รอบ (50 ขีด) = 0.50 มม. ถ้าหมุนเกลียวไป 1/2 รอบ (25 ขีด) = 0.5/2 = 0.25 มม. ถ้าหมุนเกลียวไป 1/50 รอบ (1 ขีด) = 0.5/50 = 0.01 มม. เมื่อหมุนปลอกวัดไป 1 ขีดแกนวัดจะเคลื่อนที่ 0.01 มม.

ภาพที่ 14 สเกลของไมโครมิเตอร์ มีความละเอียด 0.01 มม.
http://www.pattayatech.ac.th/files/150511088493655_15051112120331.pdf
        จากภาพที่ 17 อ่านค่าจากขีดสเกล 1 มม. = 10.00 มม. อ่านค่าจากขีดสเกล0.5 มม. = 0.00 มม. อ่านค่าจากขีดสเกล0.01 มม. = + 0.00 มม. อ่านค่ารวม = 10.00 มม.


ภาพที่ 15 ค่าสเกลจากการวัดด้วยไมโครมิเตอร์
http://www.pattayatech.ac.th/files/150511088493655_15051112120331.pdf

        จากภาพที่ 18 อ่านค่าจากขีดสเกล 1 มม. = 33.00 มม. อ่านค่าจากขีดสเกล 0.5 มม. = 0.50 มม. อ่านค่าจากขีดสเกล 0.01 มม. = +0.00 มม. อ่านค่ารวม = 33.50 มม.

ภาพที่ 16 ค่าสเกลจากการวัดด้วยไมโครมิเตอร์
http://www.pattayatech.ac.th/files/150511088493655_15051112120331.pdf
        จากภาพที่ 19 อ่านค่าจากขีดสเกล 1 มม. = 5.00 มม. อ่านค่าจากขีดสเกล 0.5 มม. = 0.50 มม. อ่านค่าจากขีดสเกล 0.01 มม. = +0.19 มม. อ่านค่ารวม = 5.69 มม.)

                    2.  การอ่านไมโครมิเตอร์วัดละเอียด 2/1000 มม. (0.002 มม.)          
        การอ่านไมโครมิเตอร์วัดละเอียด 2/1000 มม. (0.002 มม.) ไมโครมิเตอร์ชนิดนี้ เหมือนกับไมโครมิเตอร์ชนิด 1/100 มม. ทุกประการแต่มีสเกลที่เพิ่มเข้ามาคือ เวอร์เนียร์สเกล โดยขีดแบ่งสเกลไว้ที่ปลอกสเกลหลักเป็นขีดไปแนวนอน 5 ส่วน หรือ 5 ช่อง ขีดขนาดกับเส้นอ่าน (Reading Line
        วิธีแบ่งเป็นเวอร์เนียร์สเกลของไมโครมิเตอร์วัดละเอียด 2/1000 มม. ทำได้ดังนี้
1.  ระยะ 9 ช่องของสเกลปลอกหมุนวัด (9 x 0.01 = 0.09 มม.) แบ่งออกเป็นเวอร์เนียร์สเกล 5 ส่วนเท่า ๆ กัน ดังนั้นแต่ละส่วนเท่ากับ 0.9/5 = 0.018 มม.
 2.  ผลต่าง 2 ส่วนของปลอกสเกลหลัก (0.02 มม.) กับ 1 ส่วนของเวอร์เนียร์สเกล (0.018 มม.) มีค่าเท่ากับ 0.02-0.018 = 0.002 มม. ซึ่งเป็นความละเอียดที่ไมโครมิเตอร์วัดได้

ตัวอย่าง การอ่านไมโครมิเตอร์วัดละเอียด 2/1000 มม. (0.002 มม.)  

ภาพที่ 17 เวอร์เนียสเกลไมโครมิเตอร์ 2/1000 มม.
http://www.pattayatech.ac.th/files/150511088493655_15051112120331.pdf
วิธีอ่าน จากภาพที่ 20 อ่านตามลำดับได้ดังนี้
1. ที่ปลอกสเกลหลัก อ่านได้ = 5.00 มม.
2. ขีด 0 บนปลอกหมุนวัดตรงกับเส้นอ่าน = 0.00 มม.
3. ขีด 0 ของเวอร์เนียร์สเกลตรงกับขีดสเกลของปลอกหมุนวัด จึงมีค่า = 0.00 มม.
4. รวมค่าวัดที่อ่านได้ 5.00 + 0.00 + 0.00 = 5.00 มม.

                    3.   การอ่านไมโครมิเตอร์วัดละเอียด 1/10000 นิ้ว (0.0001 นิ้ว)
           การอ่านไมโครมิเตอร์วัดละเอียด 1/10000 นิ้ว (0.0001 นิ้ว) ไมโครมิเตอร์ชนิดนี้ เหมือนกับไมโครมิเตอร์ชนิด 1/1000 นิ้ว ทุกประการแต่มีสเกลที่เพิ่มเข้ามาคือเวอร์เนียร์สเกล โดยขีดแบ่งสเกลไว้ที่ปลอกสเกลหลักเป็นขีดในแนวนอน 10 ส่วนหรือ 10 ช่อง ขีดขนาดกับเส้นอ่าน (Reading Line)
        วิธีแบ่งเป็นเวอร์เนียร์สเกลของไมโครมิเตอร์วัดละเอียด 1/10000 นิ้ว ทำได้ดังนี้
         1. ระยะ 9 ช่องของสเกลปลอกหมุนวัด (9 x 0.001 = 0.009 นิ้ว) มาแบ่งออกเป็น เวอร์เนียร์สเกล 10 ส่วนเท่า ๆ กัน ดังนั้นแต่ละส่วนเท่ากับ 0.009/10 = 0.0009 นิ้ว
         2. ผลต่าง 1 ส่วนของปลอกสเกลหลัก (0.001 นิ้ว) กับ 1 ส่วนของเวอร์เนียร์สเกล (0.0009 นิ้ว) มีค่าเท่ากับ 0.001 - 0.0009 = 0.0001 นิ้ว ซึ่งเป็นความละเอียดที่ไมโครมิเตอร์ที่วัดได้
ตัวอย่างที่ 1 การอ่านไมโครมิเตอร์วัดละเอียด 1/10000 นิ้ว

ภาพที่ 18 ค่าสเกลจากการวัดด้วยไมโครมิเตอร์
http://www.pattayatech.ac.th/files/150511088493655_15051112120331.pdf
วิธีอ่าน จากภาพที่ 22  อ่านค่าวัดตามลำดับ ดังนี้
1. ที่ปลอกสเกลหลัก อ่านได้ = 0.225 นิ้ว
2. ขีด 22 บนปลอกหมุนวัดตรงกับเส้นอ่าน = 22 (.001) = 0.022 นิ้ว
3. ขีด 0 ของเวอร์เนียร์สเกลตรงกับขีดสเกลของปลอกหมุนวัด จึงมีค่า = 0.0000 นิ้ว
4. รวมค่าวัดที่อ่านได้ 0.225 + 0.022 + 0.000 = 0.2470 นิ้ว

ตัวอย่างที่ 2 การอ่านไมโครมิเตอร์วัดละเอียด 1/10000 นิ้ว

ภาพที่ 19 ค่าสเกลจากการวัดด้วยไมโครมิเตอร์
http://www.pattayatech.ac.th/files/150511088493655_15051112120331.pdf

วิธีอ่าน จากภาพที่ 23  อ่านค่าวัดตามลาดับได้ดังนี้
1. ที่ปลอกสเกลหลัก อ่านได้ 0.200 + 0.075 = 0.275 นิ้ว
2. ขีดเส้นอ่านบนปลอกสเกลหลัก อยู่ระหว่างเลข 11 กับ 12 ของปลอกหมุนวัด (แสดงว่าจะรวมกับค่าที่อ่านได้จากขีดเวอร์เนียร์สเกล) ได้ = 0.011 นิ้ว
3. เวอร์เนียร์สเกลเลขที่ 2 ตรงกับขีดของปลอกหมุนวัด = 2 (0.0001) นิ้ว = 0.0002 นิ้ว

4. รวมค่าวัดที่อ่านได้ 0.275 + 0.011 + 0.0002 = 0.2862 นิ้ว
ขอขอบคุณ
วิดิโอจาก https://www.youtube.com/watch?v=1GUjn_B40WM





1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ20 กันยายน 2564 เวลา 12:50



    สติ๊กเกอร์ไลน์ ชิ้นส่วนมาตรฐาน

    สกรูและสลักเกลียวในงานวิศวกรรม
    https://store.line.me/stickershop/product/16456268

    แหวนล๊อคในงานวิศวกรรม
    https://store.line.me/stickershop/product/16425794

    แหวนรองในงานวิศวกรรม
    https://store.line.me/stickershop/product/16425165

    น๊อตในงานวิศวกรรม
    https://store.line.me/stickershop/product/16400172


    ตอบลบ